ดารารุ่นใหญ่ โพสต์เตือน หลังนอนดึกมาหลายวัน

เป็นอีกหนึ่งนักแสดงรุ่นใหญ่มากความสามารถ สำหรับ ตุ๊ก ดวงตา ตุงคะมณี ที่ต้องบอกเลยว่าควรระวังเรื่อสุขภาพสำหรับผู้ที่ดูซีรีส์และติดมือถือดูตลอดคืนจนสว่าง เมื่อเพจเฟซบุ๊ก ดาราภาพยนตร์ โพสต์ภาพและข้อความระบุว่า




“#ส่งกำลังใจ #พี่ตุ๊กดวงตา #ดวงตาตุงคะมณี พักผ่อนน้อย ป่วย #งูสวัด ฝากเตือน #สูงวัยควรฉีดวัคซีนป้องกัน นักแสดงเจ้าบทบาท พี่ตุ๊ก-ดวงตา ตุงคะมณี พักผ่อนน้อย ป่วยเป็นงูสวัด ซึ่งเจ้าตัวโพสต์ภาพ พร้อมข้อความว่า “ดูเทนนิส Montreal open ซึ่งมาดึกตั้งแต่ 4 ทุ่มเป็นต้นไป จนเกือบสว่างมาหลายวัน แล้วไปออกกำลังมากไป ร่างกายเลยอ่อนเพลีย

พี่งูสวัด เค้ามาหาทันทีเลย ดีนะเพิ่งฉีดวัคซีนไปเมื่อเดือนที่แล้ว หมอบอกโชคดีมีภูมิ จึงไม่เป็นมาก ไม่งั้นเละกว่านี้แน่ อาจจะเป็นแผลเป็นด้วย ขอแนะนำให้ไปฉีดวัคซีนกันงูสวัดกันนะคะ โดสของเขาคือฉีดเข็มแรกและเข็มที่สองอีกภายในหกเดือน อายุเยอะแล้วควรจะฉีดเป็นอย่างมากนะคุณหมอบอก” #สื่อดีสังคมดีดาราภาพยนตร์ และแฟนเพจขอส่งกำลังใจให้สุขภาพฟื้นตัวโดยเร็ววันนะคะ

เกร็ดความรู้ โรคงูสวัด : Herpes zoster/Shingles คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส VZV ที่ซ่อนอยู่ในปมประสาทในผู้ที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน โดยเมื่อหายจากโรคอีสุกอีใส ไวรัส VZV จะเข้าไปหลบซ่อนตัวอยู่ในปมประสาทรับความรู้สึก ตราบเมื่อภูมิคุ้มกันร่างกายลดต่ำ ไวรัส VZV ที่ก่อโรคจะกำเริบโดยแสดงออก ซึ่งอาการของโรคงูสวัดที่ทำให้มีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน

มีผื่นแดงขึ้นเรียงกันเป็นกลุ่มตามแนวเส้นประสาท มีตุ่มน้ำใสขึ้น และอาจมีไข้ร่วม งูสวัดที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น งูสวัดขึ้นตา อาการปวดตามแนวเส้นประสาทหลังการติดเชื้อ (PHN) หรือมีความผิดปกติทางระบบประสาท ผู้ที่มีอาการต้องสงสัยด้วยโรคงูสวัดควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและรับยาต้านไวรัสโดยเร็ว #โรคงูสวัด #เกิดจากอะไร?




งูสวัดเกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella zoster virus: VZV) ที่เมื่อติดเชื้อครั้งแรกจะทำให้เป็นโรคอีสุกอีใส แต่เมื่อหายดีแล้ว เชื้อไวรัส VZV จะเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในปมประสาทโดยไม่แสดงอาการใด ๆ ได้นานหลายปีจนเมื่อภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ เชื้อไวรัส VZV ที่แฝงตัวอยู่จะค่อย ๆ กำเริบโดยการแบ่งตัว เพิ่มจำนวน และแพร่กระจายไปตามปมประสาทรับความรู้สึก

และรอบปลายประสาทผิวหนังจนทำให้เส้นประสาทอักเสบ ปวดตามแนวเส้นประสาท เกิดรอยโรคลักษณะผื่นแดงที่ผิวหนัง ตามด้วยตุ่มน้ำใสขึ้นเรียงกันเป็นกลุ่ม พาดยาวตามแนวปมประสาทรับความรู้สึก ทำให้มีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน เจ็บแปลบตามร่างกาย ปวดหัว และอาจมีไข้ร่วม ผู้ที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสทุกคนล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคงูสวัดด้วยกันทั้งสิ้น

ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคงูสวัด คือใคร?

• ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป

• ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ

• ผู้ที่ทานยากดภูมิคุ้มกัน

• ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV)

• ผู้ที่เป็นมะเร็ง

• ผู้ป่วยติดเตียง

• ผู้ที่มีความเครียด

• ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ

• ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรง

• ผู้ที่เคยได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ

• ผู้ที่รับยาเคมีบำบัด

• ผู้ที่ใช้สเตียรอยด์เป็นเวลานาน

• ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคแพ้ภูมิตนเอง หรือโรคเอสแอลอี (SLE) โรคหัวใจ โรคไต




การป้องกันงูสวัด มีวิธีการอย่างไร?

#การฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด : ผู้ที่เคยหรือไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อนในวันเด็ก ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ และผู้ที่มีความเสี่ยงสูงทุกคน สามารถป้องกันโรคงูสวัดได้โดยเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นงูสวัดที่อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา

#หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง : ผู้ที่เป็นงูสวัดควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายลุกลามสู่ผู้อื่น ซึ่งได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ เด็กเล็ก หรือ สตรีมีครรภ์ และควรแยกของใช้ส่วนตัว เช่น ที่นอน เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มของผู้ที่เป็นโรคงูสวัดออกจากผู้อื่น

#หมั่นรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง : การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควบคู่กับการออกกำลังกาย การทำจิตใจให้สบาย ไม่เครียด และการพักผ่อนที่เพียงพอ จะช่วยให้ภูมิคุ้มกันร่างกายแข็งแรงและห่างไกลจากโรคงูสวัดได้

ขอบคุณข้อมูล: #MedParkHospital”